เป้าหมายรายสัปดาห์: นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการถนอมอาหารให้อยู่ได้นานและมีความปลอดภัยกับการรับประทาน
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
8
22-26 ก.ย. 57
|
โจทย์ วัฒนธรรมความเชื่อ
การประกอบและการถนอมอาหารประเภทถั่ว
คำถาม
นักเรียนมีวิธีการประกอบอาหารคาวที่มีถั่วในอาหารนั้นได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
- Brainstorms ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการถนอมอาหารประเภทถั่ว
- Show
and Share นำเสนอชิ้นงานการถนอมอาหารประเภทถั่ว
- Jig Saw คิดเมนูอาหารในแต่ละกลุ่ม
สื่อ/อุปกรณ์
- คลิปถนอมอาหารจากถั่ว(กบนอกกะลาถั่วเน่า)
- บรรยากาศในห้องเรียน
- แปลงถั่ว
|
วันจันทร์
ชง
ครูให้นักเรียนดู
คลิปถนอมอาหารที่ทำจากถั่ว (กบนอกกะลาถั่วเน่า)
เชื่อม
-ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับวัฒนธรรม
ความเชื่อ เกี่ยวกับการรับประทานถั่ว
-นักเรียนคิดเมนูอาหารที่ทำจากถั่ว
ใช้
นักเรียนร่วมกันเพาะถั่วงอก
วันอังคาร
ชง
ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมการประกอบอาหารจากถั่ว
ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนคิดว่าจะประกอบอาหารจากถั่วอย่างไรให้ได้คุณค่าจากถั่วสูงสุด”
เชื่อม
-นักเรียนแบ่งกลุ่มคิดเมนูอาหารจากถั่ว
-ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเมนูที่แต่ละกลุ่มจะทำ
ใช้
นักเรียนวางแผนการเตรียมอุปกรณ์ที่จะประกอบอาหารกลางวันรับประทานในวันพุธ
วันพฤหัสบดี
ชง
-ครูทบทวนถึงกิจกรรมประกอบอาหารจากถั่วรับประทานในวันที่ผ่านมา
-ครูและนักเรียนทำอาหารหวานจากถั่วเขียวผ่าซีก
(วุ้นถั่วเขียวผ่าซีก)
เชื่อม
นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำอาหารและส่วนประกอบที่วุ้นถั่วเขียวผ่าซีกพร้อมทั้งวิเคราะห์รสชาติ
ใช้
-นักเรียนเขียนสรุปวิธีการทำวุ้นถั่วเขียวผ่าซีก
-ดูการเจริญเติบโตถั่วที่ปลูก
วันศุกร์
ชง
-
ครูถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้”
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนในสัปดาห์นี้
ใช้
-นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- ดูแลแปลงถั่วที่ปลูกไว้ทุกวัน พร้อมทั้งบันทึกการเปลี่ยนแปลง
-
เพาะถั่วงอก
-
ประกอบอาหารคาวและหวานจากถั่ว
ชิ้นงาน
-
อาหารกลางวันที่ทำจากถั่ว
-
อาหารหวานจากถั่ว (วุ้นถั่วเขียวผ่าซีก)
- สมุดบันทึกถั่ว
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการถนอมอาหารให้อยู่ได้นานและมีความปลอดภัยกับการรับประทานรวมทั้งสามารถประกอบอาหารทั้งคาวและหวานรับประทานเองได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- ทำอาหารจากถั่วได้
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
- ใช้ทรัพยากรในโรงเรียนที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ การทำเต้าส่วน สาคูถั่วดำ
ให้น่าสนใจและคงคุณค่าทางอาหารได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบ การทำอาหารจากถั่วให้น่าสนใจและคงคุณค่าทางอาหารได้
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนออาหารให้ครูและเพื่อนๆฟังได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
|
สรุปสัปดาห์
สัปดาห์นี้ วันจันทร์ครูให้พี่ ๆ ได้ดูคลิปกบนอกกะลาตอน ถั่วเน่า เมื่อดูจบให้พี่ๆ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยพี่ๆบอกว่าถั่วเหลืองทางภาคเหนือจะเรียนว่า “ถั่วเน่า” ที่เรียกถั่วเน่าเพราะกลิ่นของถั่วที่เกิดจากการหมักและถั่วเหลืองจะปลูกมากทางภาคเหนือของไทย จากนั้นพี่ๆได้ไปเพาะถั่วงอก วันอังคารพี่ๆ ตกลงร่วมกันว่าจะประกอบอาหารจากถั่วทั้งถั่วงอกและถั่วฝักยาวโดยร่วมกันวางแผนว่าจะประกอบอาหารเมนูไหนบ้าง โดยกลุ่มที่หนึ่งทำเมนูไข่เจียวถั่วงอก กลุ่มสองหมี่ยำ กลุ่มสามส้มตำมะละกอใส่ถั่วฝักยาว กลุ่มสี่ปลาทูทอดจิ้มถั่วฝักยาว และกลุ่มห้าเกาเหลาถั่วงอก โดยครูให้โจทย์พี่ๆ ว่านอกจากทำอาหารแล้วพี่ๆ จะต้องหุงข้าวรับประทานเองด้วย โดยการประกอบอาหารในวันพุธมีผู้ปกครองมาช่วยแนะนำพี่ๆ ทั้งการประกอบอาหารและการหุงข้าว พี่ๆรู้สึกสนุกกับการทำอาหารในวันนี้โดยเริ่มตั้งแต่ตอนเช้าที่พี่ๆ ได้เก็บถั่วงอกร่วมกันและทำการเด็ดรากและถอดหมวกถั่วงอก จากนั้นครูนำถั่วงอกที่ได้ในวันนี้ให้พี่ๆ ประกอบอาหารที่มีถั่วงอกเป็นส่วนประกอบ และถั่วงออกที่เหลือจากการแบ่งประกอบอาหารนำมาแบ่งให้พี่ๆ คนที่ยังไม่ได้ถั่วงอกกลับไปรับประทานที่บ้าน เมื่อถึงเวลารับประทานทุกคนตื่นเต้นและรับประทานอาหารอย่างเอร็ดอร่อย จากนั้นวันพฤหัสบดีพี่ๆ ได้ทำวุ้นถั่วเขียวผ่าซีก และหาข้อมูลชนิดของพืช โดยแบ่งเป็นกลุ่มค้นหาทางอินเตอร์เน็ต โดยมีบางกลุ่มบอกว่าแบ่งเป็น พืชล้มลุก พืชยืนต้น พืชดอก พืชประดับ พืชสวนครัว เป็นต้น หลังจากนั้นพี่ๆ ได้ออกมานำเสนองานกลุ่มตนเอง ในชั่วโมงนี้พี่ๆ ไม่ได้สำรวจความเปลี่ยนแปลงที่แปลงถั่วแต่ในตอนกลางวันคุณครูและพี่ๆ ไปดูแปลงถั่วแล้ว วันศุกร์พี่ๆ ได้ทบทวนความรู้ที่เรียนมาทั้งสัปดาห์และสรุปสัปดาห์
ตอบลบ