เป้าหมายรายสัปดาห์: นักเรียนเข้าใจและเรียนรู้ความเป็นมาของที่ในประเทศไทย
รวมถึงสามารถเห็นโครงสร้างที่อยู่ภายในของเมล็ดถั่วและสามารถเชื่อมโยงมาถึงตนเองได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
3
18-22
ส.ค. 57
|
โโจทย์ ประวัติความเป็นมาของถั่วในประเทศไทย
โครงสร้างของเมล็ด
คำถาม
-ถั่วแต่ละชนิดมีที่มาอย่างไร
-เมล็ดถั่วกับทารกในครรภ์มีโครงสร้างเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
เครื่องมือคิด
-
Brainstorms ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการแบ่งชนิดของถั่ว
- Round
Rubin แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับชนิดของถั่ว
- Show and
Share นำเสนอการแยกชนิดถั่ว
- ชักเย่อความคิด
ถั่วเกษตรดีกว่าถั่วพื้นเมืองจริงหรือ
สื่อ/อุปกรณ์
- วีดีโอตัวอ่อนคนในครรภ์และเมล็ดถั่ว
- บรรยากาศในห้องเรียน
- แปลงถั่ว |
วันจันทร์
ชง
- ครูและนักเรียนร่วมทบทวนที่ผ่านมา
-
ครูถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนคิดว่าถั่วมีประวัติความเป็นมาอย่างไร
และเข้ามาในประเทศไทยได้อย่างไร”
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับที่มาของถั่ว
ใช้
นักเรียนค้นคว้าหาที่มาของถั่วแต่ละชนิดที่นักเรียนรู้จัก
วันอังคาร
ชง
-
ครูเปิดวีดีโอทารกในครรภ์มารดาและการเกิดของเมล็ดถั่วให้นักเรียนดู
-
ครูถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนนักเรียนคิดว่าทารกในครรภ์มารดาเหมือนหรือต่างจากเมล็ดของถั่ว”
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับที่มาของถั่ว
ใช้
-
ศึกษาโครงสร้างของเมล็ดถั่ว/บันทึกผล
1.
ดูโครงสร้างภายนอก
2.
ผ่าเม็ดถั่วแต่ละชนิดดูองค์ประกอบภายในของเมล็ด
-วิเคราะห์เทียบเคียงโครงสร้างเมล็ดถั่วกับทารกในครรภ์ วาดภาพ
ประกอบ
วันพฤหัสบดี
ชง
-
ครูพานักเรียนไปที่แปลงถั่วดูการเปลี่ยน
-
ครูถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างและจะทำอย่างไร”
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงและปัญหาที่แปลงถั่ว
ใช้
นักเรียนดูแลแปลงถั่วที่ปลูก
วันศุกร์
ชง
-
ครูถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้”
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนในสัปดาห์นี้
ใช้
-นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- ดูแลแปลงถั่วที่ปลูกไว้ทุกวัน พร้อมทั้งบันทึกการเปลี่ยนแปลง
-
หาข้อมูลเกี่ยวกับการค้นพบถั่วและการนำเข้ามาของถั่วในประเทศไทย
-
แยกชนิดของเมล็ดถั่ว
-
ผ่าเมล็ดถั่วดูโครงสร้างภายในเมล็ดถั่ว
ชิ้นงาน
- นิทาน/การ์ตูนช่อง เรื่องกำเนิดถั่ว
-
วาดภาพประกอบเทียบเคียงโครงสร้างเมล็ดถั่วกับทารกในครรภ์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ |
ความรู้
เข้าใจถึงประวัติความเป็นมาของการกำเนิดถั่วและมองเห็นโครงสร้างองค์ประกอบทั้งภายนอกและภายในของเมล็ดถั่วซึ่งมีผลสำคัญต่อการงอกของเมล็ดถั่ว
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่จะนำมาศึกษาเมล็ดถั่วได้อย่างเหมาะสม
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
- เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาและกิจกรรมที่เรียน
ทักษะการสื่อสาร
สามารถพูดอธิบายนำเสนอการเรียนรู้ให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผลทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำการผ่าเมล็ดถั่ว
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ออกแบบการบันทึกข้อมูลที่ทดลองได้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะการแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหากระบวนการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
|
สัปดาห์นี้พี่ ป.2 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับที่มาของถั่วแต่ละชนิดที่พี่ๆ รู้จัก โดยครูแบ่งกลุ่มให้กลุ่มละ 2 คนค้นหาข้อมูลเพื่อนำมาเสนอในวันพฤหัสบดี หลังจากนั้นครูให้นักเรียนเขียนสรุปความรู้ก่อนเรียน วันอังคาร ครูให้พี่ ๆ ดูคลิบที่เกี่ยวกับการกำเนิดของคนและถั่ว เมื่อดูคลิบจบ ครูตั้งคำถามคนและถั่วต่างกันอย่างไร มีอะไรที่เหมือนกันบ้าง พี่ๆบอกว่าคนตอนอยู่ในท้องได้รับอาหารทางสายสะดือจากแม่ ส่วนถั่วจะได้รับอาหารทางราก จากนั้นครูให้นักเรียนเขียนละวาดภาพการเกิดของคนและถั่ว วันพุธครูได้พานักเรียนทำค้างถั่วสำหรับถั่วฟักยาว ถั่วแบบ เพื่อให้มีที่ยึด ส่วนบางกลุ่มที่ไม่ต้องทำค้างเพราะปลูกถั่วดำ ถั่วลิสง ก็มาช่วยเพื่อทำ และขณะที่ทำค้างถั่วพี่ๆ เห็นดินที่ขุดเป็นดินเหนียว และพี่ๆ อยากจะปั้นครูจึงให้ปั้นเป็นรูปต้นถั่วตั้งแต่ตอนงอกจนถึงเริ่มมีใบ ต่อจากนั้นก็ให้พี่ ๆ ได้ปั้นตามจินตนาการ วันพฤหัสบดี พี่ ป.2 ได้ออกมานำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของถั่วที่ได้ค้นหามา เช่น พี่ไอซ์ถั่วเหลืองมีต้นกำเนิดจากประเทศจีน พี่ดาก้าและพี่ฟีฟ่า ถั่วแระญี่ปุ่นมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนเมื่อ 1100 ปีมาแล้ว พี่โอ๋ ถั่วเขียวกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย เป็นต้น ต่อมาครูพานักเรียนไปที่แปลงถั่วเพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลงของต้นถั่ว และกลับห้องเพื่อมาบันทึกต้นถั่วของตัวเอง วันศุกร์ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้ทำมาตลอดทั่งสัปดาห์ และให้นักเรียนทำสรุปความรู้ในสัปดาห์นี้
ตอบลบ