เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic: "สวนถั่วหรรษา"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับถั่วชนิดต่าง ๆ สามารถเลือกรับประทานถั่วแต่ละชนิดได้อย่างปลอดภัยและมีคุณค่า รวมทั้งมีทักษะการปลูกและผลิตอาหารจากถั่วชนิดต่างๆ ได้อย่างมีคุณค่าทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

week5


เป้าหมายรายสัปดาห์: นักเรียนเข้าใจและสามารถเพาะถั่วงอกไว้บริโภคเองและทำเพื่อจำหน่ายได้ โดยปลอดภัยและมีคุณค่าทางอาหารสูง

Week
Input
Process
Output
Outcome
5
1-5 ก.ย. 57

โจทย์  การเพาะถั่วงอก (หลายชนิด)
คำถาม
นักเรียนจะมีวิธีการเพาะถั่วอย่างไรให้ปลอดภัยและได้คุณค่าทางอาหารสูง
เครื่องมือคิด
- Brainstorms ระดมความคิดร่วมกันวิธีการเพาะถั่วงอก
-Place Mat  การวิเคราะห์เกี่ยวกับวิธีเพาะถั่วงอกที่ได้ผลดีที่สุด
- Show and Share นำเสนอชิ้นงานวิธีเพาะถั่วงอก
- ชักเย่อความคิด  ถั่วงอกที่ขาวอวบดีกว่าถั่วงอกธรรมชาติจริงหรือ
สื่อ/อุปกรณ์
บรรยากาศในห้องเรียน
- แปลงถั่ว
วันจันทร์
ชง
-ครูและนักเรียนพูดคุยถึงสิ่งที่ทำในสัปดาห์ที่ผ่านมา
-ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนจะมีวิธีการเพาะถั่วงอกอย่างไร และใช้วัสดุใดในการเพาะถั่ววอก”
เชื่อม
นักเรียนทำ Place Mat  การวิเคราะห์เกี่ยวกับวิธีเพาะถั่วงอกที่ได้ผลดีที่สุด
ใช้
ครูแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ  2 คนเพาะถั่วงอกวิธีต่าง ๆนักเรียน
-เลือกถั่วชนิดต่างๆที่จะนำมาเพาะเป็นถั่วงอก (ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วเหลือง)และวางแผนวิธีการเพาะถั่วงอก
-ให้นักเรียนนำอุปกรณ์ที่จะเพาะถั่วงอกมา
1.      เพาะในขวดพลาสติก
2.      เพาะด้วยสำลี
3.      เพาะด้วยกาบมะพร้าว
4.      เพาะด้วยแกลบดำ
5.      เพาะด้วยกระสอบป่าน
วันอังคาร
ชง
-ครูและนักเรียนดูการงอกของถั่ว ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนเห็นอะไรบ้าง และคิดว่าสิ่งที่เห็นเกิดจากอะไร”
-ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิดนักเรียนคิดว่าถั่วงอกและเมล็ดถั่วสามารถนำมาประกอบอาหารอะไรได้บ้าง
เชื่อม
ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดกันเกี่ยวการเจริญเติบโตของถั่วงอกและอาหารที่ทำจากถั่ว
ใช้
- วิเคราะห์ สังเกตการงอกของถั่วแต่ละชนิด ราก ต้นใบ บันทึกผลการทำลอง
- นักเรียนวางแผนประกอบอาหารจากถั่วงอก และเมล็ดถั่ว เช่น ผัดหมี่ใส่ถั่วงอก ถั่วกรอบแก้ว ถั่วแปบ
วันพฤหัสบดี
ชง
ครูและนักเรียนไปดูแปลงถั่ว ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนเห็นอะไรบ้าง และคิดว่าสิ่งที่เห็นเกิดจากอะไร”
เชื่อม
ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดกันเกี่ยวการเจริญเติบโตของต้นถั่ว
ใช้
-วิเคราะห์และบันทึกผลการเปลี่ยนแปลงของแปลงถั่ว
วันศุกร์
ชง
- ครูถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้”
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนในสัปดาห์นี้
ใช้
-นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
ดูแลแปลงถั่วที่ปลูกไว้ทุกวัน พร้อมทั้งบันทึกการเปลี่ยนแปลง
- เพาะถั่วงอก
- คิดเมนูอาหารจากถั่ว
- บันทึกการทดลอง

ชิ้นงาน
-อุปกรณ์และการเพาะถั่วงอก
-ออกแบบประกอบอาหารจากถั่วเพื่อจำหน่ายสร้างรายได้
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่เมาะสมกับการเพาะถั่วงอกพร้อมทั่งสามารถนำวัตถุดิบประเภทถั่วมาประกอบเป็นอาหารเพื่อจำหน่ายให้เกิดรายได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่จะนำมาเพาะเมล็ดถั่วได้อย่างเหมาะสม
เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาและกิจกรรมที่เรียน
ทักษะการสื่อสาร
สามารถพูดอธิบายนำเสนอทดลองให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
ทักษะการจัดการข้อมูล
 คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำดูการเปลี่ยนแปลงของเมล็ดถั่วที่มีปัจจัยต่างๆมาเกี่ยวข้อง
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
 คิดวางทำกิจกรรมได้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะการแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหากระบวนการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น



กิจกรรม 









สรุปสัปดาห์








1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ป.2 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเพาะถั่วงอก โดยใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกัน และใช้ถั่วต่างชนิดกัน นอกจากนั้นยังได้เห็นการงอกที่แตกต่างกันของเมล็ดข้าว และถั่ว ครูให้คนหาข้อมูลว่าทำไมถั่วและข้าวงอกไม่เหมือนกัน พี่บิวบอกว่าเพราะข้าวเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว แต่ถั่วใบเลี้ยงคู่ นอกจากนี้กิจกรรมสัปดาห์นี้ของพี่ๆ ที่อยากทำคือเปิดตลาดขายอาหารจากถั่วเพราะได้ทำเป็นแล้วจึงเสนอว่าให้ขายวันพุธ และอาหารทำขายได้แก่ ขนมถั่วแปบ ถั่วกรอบแก้ว โบว์ลิ่งถั่วเขียว และผัดหมี่ โดยมีผู้ปกครองมาช่วยทำอาหารด้วย นอกนี้ยังได้ดูแลแปลงถั่วของตนเองและเตรียนมสถานที่สำหรับเพาะถั่วงอก โดยช่วยกันขนอิฐตัวหนอนมาวางเรียงกัน จากนั้นวันศุกร์ก็สรุปสัปดาห์นี้

    ตอบลบ