เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic: "สวนถั่วหรรษา"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับถั่วชนิดต่าง ๆ สามารถเลือกรับประทานถั่วแต่ละชนิดได้อย่างปลอดภัยและมีคุณค่า รวมทั้งมีทักษะการปลูกและผลิตอาหารจากถั่วชนิดต่างๆ ได้อย่างมีคุณค่าทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

week7



เป้าหมายรายสัปดาห์: นักเรียนเข้าใจความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ความเชื่อของแต่ละท้องถิ่นในการรับประทานถั่วรวมทั้งสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข


Week
Input
Process
Output
Outcome
7
15-19 ก.ย. 57

โจทย์ ระบบนิเวศน์ในแปลงถั่ว
 คำถาม
นักเรียนคิดว่าในแปลงถั่วของเรามีสิ่งใดอยู่บ้างและมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร
เครื่องมือคิด
- Brainstorms ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้พบในแปลงถั่ว
- Show and Share นำเสนอชิ้นงานความเกี่ยวข้องกันของสิ่งมีชีวิตในแปลงถั่ว
-Jig saw ค้นคว้าหาข้อมูลความเกี่ยวข้องของสิ่งต่างๆ ในแปลงถั่ว
สื่อ/อุปกรณ์
- Tablet อินเตอร์เน็ต
บรรยากาศในห้องเรียน
- แปลงถั่ว
วันจันทร์
ชง
ครูพานักเรียนเดินสำรวจรอบๆ บริเวณแปลงถั่ว และถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนพบอะไรบ้างในแปลงถั่วของตนเองและเพื่อนๆ”
เชื่อม
ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่พบในแปลงถั่วและคาดเดาความเกี่ยวข้องของสิ่งที่พบ
ใช้
นักเรียนหาข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่พบ และหาความเชื่อมโยงของระบบนิเวศน์ในแปลงถั่ว
วันอังคาร
ชง
ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้ทำเมื่อวันจันทร์
เชื่อม
นักเรียนออกมานำเสนอสิ่งที่ได้ค้นคว้าหาข้อมูล
ใช้
นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้วันนี้
วันพฤหัสบดี
ชง
- ครูให้นักเรียนสังเกตต้นลำไย ต้นถั่ว และต้นข้าวที่ปลูกไว้ว่าต่างกันอย่างไร
-ครูถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนจะรู้ได้อย่างไรว่าพืชชนิดไหนเป็นใบเลี้ยงเดี่ยวใบเลี้ยงคู่”
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกความคิดเกี่ยวกับชนิดของใบเลี้ยงคู่และใบเลี้ยงเดี่ยว
-นักเรียนหาข้อมูลเกี่ยวกับใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่
ใช้
- นักเรียน นำใบของพืชใบเลี้ยงคู่ ใบเลี้ยงเดี่ยววาดภาพพร้อมเขียนชื่อ
วันศุกร์
ชง
- ครูถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้”
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนในสัปดาห์นี้
ใช้
-นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- เพาะถั่วงอกเพื่อใช้ในสัปดาห์ถัดไป
ภาระงาน
ดูแลแปลงถั่วที่ปลูกไว้ทุกวัน พร้อมทั้งบันทึกการเปลี่ยนแปลง
- ค้นคว้าความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในแปลงถั่ว
- ประกอบอาหารจากถั่วงอก (เกี้ยวถั่วงอก)

ชิ้นงาน
-       วาดภาพสิ่งมีชีวิตที่พบในแปลงถั่วพร้อมบอกถึงความสัมพันธ์กันของสิ่งเหล่านนั้น
-       สรุปและแยกชนิดของใบเลี้ยงพืช
- อาหารที่ทำจากถั่วงอก
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจถึงระบบนิเวศน์ของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน และมองเห็นความแตกต่างของส่วนประกอบของพืชสามารถแยกชนิดของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- ทำอาหารจากถั่วได้
เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรในโรงเรียนที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่พบในแปลงถั่ว และสามารถบอกชนิดของใบเลี้ยงพืชได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบค้นคว้าหาข้อมูลของสิ่งมีชีวิตต่าง นำมาเชื่อมโยงความสัมพันธ์ได้ รวมทั้งคิดออกแบบอาหารจากวัตถุดิบที่ผลิตเอง
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอข้อมูลระบบนิเวศน์และชนิดของใบเลี้ยงให้ครูและเพื่อนๆฟังได้
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของระบบนิเวศน์และชนิดของใบเลี้ยงพืชได้
คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น






สรุปสัปดาห์





1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ ป.2 ไมได้เรียนตามที่วางแผนไว้ เพราะคุณครูหยิบฉวยการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้พี่ๆ ได้ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งรอบตัว เนื่องจากต้นถั่วของพี่ๆ มีศัตรูพืช เช่น เพลี้ย ตั๊กแตน มดและหนอน เป็นต้น ซึ่งเช้าวันจันทร์ทุกคนเข้าห้องมาถกเถียง/แลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มของตนเองมีแมลงต่างๆ เกาะอยู่ โดยวันนี้ครูให้พี่ๆ แบ่งกลุ่มกันค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเพลี้ยโดยใช้อินเตอร์เน็ต ว่าเพลี้ยมีกี่ชนิด มีหน้าที่อย่างไร มีวิธีใดบ้างที่กำจัดเพลี้ยได้ ลักษณะของเพลี้ยเป็นอย่างไร โดยผ่านเครื่องมือคิดแบบ “จิ๊กซอว์” แล้วออกมานำเสนอ (Show and Share) ให้เพื่อนๆ กลุ่มอื่นฟัง ซึ่งหลังจากนำเสนอพี่ๆ ป.2 ตื่นเต้นกับข้อมูลที่เพื่อนนำเสนอความสัมพันธ์ของมดกับเพลี้ย “มดสัญญาจะคุ้มครองเพลี้ยจากสัตว์อื่นๆ” วันอังคาร เนื่องจากวันจันทร์ครูได้แบ่งถั่วงอกที่เพาะให้เด็ก ๆ บางคนกลับบ้าน (เด็กจะได้ถั่วงอกทุกคน ตามลำดับ) เพื่อนที่ได้จึงเล่าเกี่ยวกับเมนูที่ได้ทำให้เพื่อนฟัง หลังจากนั้นพี่ๆ ช่วยกันเสนอเมนูที่มีส่วนผสมของถั่วงอก และวันพุธจะนำเมนูนี้มาประกอบอาหาร หลังจากที่แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันแล้วสรุปได้ว่าจะประกอบอาหารเมนู “เกี้ยวถั่วงอก” และทุกคนได้ร่วมวางแผนประกอบอาหารจากถั่วงอก หลังจากนั้นครูได้พาพี่ๆ ไปสังเกตลักษณะใบของถั่ว ข้าว และต้นลำไยที่เพาะไว้ โดยครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิดว่า “พืชทั้งสามชนิดนี้มีใบและลำต้นที่แตกต่างกันอย่างไร” หลังจากนั้นครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิดต่อว่า “เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพืชชนิดไหนเป็นใบเลี้ยงเดี่ยวใบเลี้ยงคู่” โดยให้เป็นการบ้านมานำเสนอในวันต่อไป วันพุธพี่ๆ ได้ประกอบอาหาร เมนูเกี้ยวถั่วงอก ซึ่งทุกคนสนุกและอร่อย ครูให้พี่ๆ สังเกตลักษณะโครงสร้างของถั่วงอก และวาดภาพลงในสมุดทุกคนสามารถเก็บรายละเอียดได้ดีมาค่ะ วันพฤหัสบดี นักเรียนร่วมสังเกตใบพืชต่างๆที่พี่ ป.2 นำมา ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด “พี่คิดว่าพืชชนิดไหนเป็นใบเลี้ยงเดี่ยวใบเลี้ยงคู่ พี่แม็คสังเกตจากลักษณะก้านใบ “ใบเลี้ยงเดี่ยว” พี่เปรมและพี่ชินสังเกตจากเส้นใบ “ใบเลี้ยงคู่” และอีกหลายคนสังเกตจากรากแก้ว หลังจากนั้นพี่ๆ ได้สังเกตการณ์เจริญเติบต่อของต้นถั่วของตนเองและนำกลับมาบันทึกในสมุดบันทึกถั่ว วันศุกร์พี่ๆ ร่วมกันสรุปสัปดาห์เกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้ คุณครูให้พี่ๆ สรุปเป็น Mind mapping สังเกตได้ว่าพี่ๆ ยังไม่สามารถจัดกลุ่มข้อมูล มองหาแก่นการเรียนรู้ไม่ได้คุณครูจึงแนะนำกระบวนการทำใบงาน

    ตอบลบ