เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic: "สวนถั่วหรรษา"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับถั่วชนิดต่าง ๆ สามารถเลือกรับประทานถั่วแต่ละชนิดได้อย่างปลอดภัยและมีคุณค่า รวมทั้งมีทักษะการปลูกและผลิตอาหารจากถั่วชนิดต่างๆ ได้อย่างมีคุณค่าทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

week6


เป้าหมายรายสัปดาห์: นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าทางอาหารและตระหนักถึงภัยที่มากับถั่วนำไปสู่การเลือกรับประทานถั่วได้อย่างปลอดภัยและได้ประโยชน์สูงสุด


Week
Input
Process
Output
Outcome
 6
8-12 ก.ย. 57

โจทย์ คุณค่าทางอาหารของถั่ว
คำถาม
ถั่วมีคุณค่าทางอาหารที่เป็นประโยชน์กับคนอย่างไร
เครื่องมือคิด
- Brainstorms ระดมความคิดร่วมกันคุณค่าทางอาหาร
-Place Mat  การวิเคราะห์เกี่ยวกับคุณค่าทางอาหาร
- Show and Share นำเสนอชิ้นงานการทดลอง
- ชักเย่อความคิด ถั่วมีประโยชน์มากกว่าโทษจริงหรือ
สื่อ/อุปกรณ์
บรรยากาศในห้องเรียน
- แปลงถั่ว
วันจันทร์
ชง
-    ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ทำในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนคิดว่าถั่วมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไรบ้าง เพราะเหตุใด”
เชื่อม
นักเรียนสนทนาวางแผนวิธีทดสอบหาสารอาหารจากถั่ว และอาหารอื่น ๆ
ใช้
นำเสนอสิ่งที่จะนำมาทดลองและวางแผนเตรียมอุปกรณ์
วันอังคาร
ชง
-    ครูและนักเรียนนำอุปกรณ์ที่เตรียมมาและกระตุ้นความคิดด้วยคำถามนักเรียนจะทดลองหาสารอาหารในถั่วอย่างไรอย่างไร
เชื่อม
นักเรียนแลกเปลี่ยนสนทนาความคิดร่วมกัน
ใช้
นักเรียนร่วมกันทดลองหาสารอาหารในเมล็ดถั่วและถั่วงอกที่เพาะไว้ (ทดสอบโดยใช้สารคอบเปอร์ (ll) ซัลเฟต ถ้ามีโปรตีนจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงอมชมพู
- ทดสอบโปรตีนในเมล็ดถั่ว ถั่วงอก เปรียบเทียบกัน
- ทดสอบโปรตีนในถั่วเปรียบเทียบกับอาหารชนิดอื่น ๆ เช่น ไข่ขาว ไข่แดง เนื้อสัตว์ ข้าว ผักต่างๆ
- วิเคราะห์ผลการทดลองที่เกิดขึ้นเชื่อมโยงสู่การเลือกรับประทานเพื่อให้ร่างกายได้รับโปรตีนที่เหมาะสมแต่ละช่วงวัย
-     สรุปการทดลองวันจันทร์
การบ้าน ศึกษาค้นคว้าภัยที่มากับถั่ว
วันพฤหัสบดี
ชง
ครูและนักเรียนไปดูแปลงถั่ว ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนเห็นอะไรบ้าง และคิดว่าสิ่งที่เห็นเกิดจากอะไร”
เชื่อม
ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดกันเกี่ยวการเจริญเติบโตของต้นถั่ว
ใช้
-วิเคราะห์และบันทึกผลการเปลี่ยนแปลงของแปลงถั่ว
วันศุกร์
ชง
- ครูถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้”
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนในสัปดาห์นี้
ใช้
-นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
-เพาะถั่วงอกใช้ในสัปดาห์ถัดไป
ภาระงาน
ดูแลแปลงถั่วที่ปลูกไว้ทุกวัน พร้อมทั้งบันทึกการเปลี่ยนแปลง
- ทดสอบสารอาหารในถั่ว
- บันทึกการทดลอง
- เพาะถั่วงอก

ชิ้นงาน
การ์ตูนช่อง/นิทานจากการทดลองต่างๆ
- บันทึกการทดลองเรื่องสารอาหาร
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าทางอาหารและตระหนักถึงภัยที่มากับถั่วนำไปสู่การเลือกรับประทานถั่วได้อย่างปลอดภัยและได้ประโยชน์สูงสุด
ทักษะ:
ทักษะชีวิต
- สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่จะนำมาเพาะเมล็ดถั่วได้อย่างเหมาะสม
เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาและกิจกรรมที่เรียน
ทักษะการสื่อสาร
สามารถพูดอธิบายนำเสนอทดลองให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
ทักษะการจัดการข้อมูล
 คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำดูการเปลี่ยนแปลงของเมล็ดถั่วที่มีปัจจัยต่างๆมาเกี่ยวข้อง
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ การคิดสร้างสรรค์
 คิดวางทำกิจกรรมได้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะ ICT
-สามารถเลือกใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลได้อย่างหลากหลายตรงตามวัตถุประสงค์
-วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลเรื่องถั่วได้อย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทันภัย
คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น







สรุปสัปดาห์











1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ ป.2 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของถั่วและโทษของถั่ว โดยวันจันทร์ครูให้นักเรียนได้ปลูกถั่วพร้าที่ได้เพาะไว้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พี่ๆดูตื่นเต้นกับขนาดของต้นอ่อนถั่วพร้าที่มีเมล็ดใหญ่ หลังจากปลูกถั่วพร้าแล้ว พี่ๆ ได้เลือกและตกลงกันว่าใครจะนำอาหารชนิดใดมาทดลองหาโปรตีนจากถั่ว เช่น ไข่ นม ถั่ว ถั่วงอก ผัก ขนม น้ำอัดลม จากการทดลองหาโปรตีน จากสารทดสอบโปรตีน โดยจากการทดสอบไข่แดง และถั่วเปลี่ยนเป็นสีม่วงอมเขียว วันพฤหัสบดี พี่ๆได้ออกไปดูถั่วที่ปลูกวันในวันเปิดเทอม ตอนนี้ถั่วฝักยาวได้ออกดอกสีม่วงและบางกลุ่มเริ่มมีฝักแล้ว ถั่วลิสงเริ่มเห็นดอกสีเหลือง ถั่วแปบยังไม่มีดอก นอกจากนี้พี่ ๆยังได้นำน้ำหมักจากบ้านมาเพื่อฆ่าเพลี้ย และน้ำผสมน้ำส้มสายชูและน้ำยาล้างจาน เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของยาฆ่าเพลี้ยทั้งสองอย่าง และมาบันทึกการเจริญเติบโตของต้นถั่ว จากนั้นวันศุกร์นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้ไปค้นคว้าเกี่ยวกับโทษจากการรับประทานถั่วและไปดูว่าถั่วยังมีเพลี้ยอยู่หรือไม่ ปรากฏว่าเพลี้ยตายบางส่วน แต่ยังเหลืออยู่ จากนั้นนักเรียนสรุปสัปดาห์

    ตอบลบ