เป้าหมายรายสัปดาห์: สร้างแรงบันดาลใจ
เชื่อมโยงความเกี่ยวข้องกับตัวเองอยากเรียนรู้ได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
1
4-8
ส.ค. 57
|
โจทย์ สร้างฉันทะ/สร้างแรง
คำถาม
- นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรใน Quarter นี้
เพราะเหตุใดจึงอยากเรียน
เครื่องมือคิด
- Blackboard
Share แสดงความคิดร่วมกันเกี่ยวกับสารคดีที่ได้ดู
- Brainstorms แลกเปลี่ยนสิ่งที่เห็น และความรู้สึกของตนเอง
- Mind
Mapping สรุปความเข้าใจรายสัปดาห์
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
สื่อ/อุปกรณ์
- สารคดีเรื่อง “ถั่วงอก”
-
เมล็ดถั่วหลาย ๆ ชนิด
- บรรยากาศในห้องเรียน
|
วันจันทร์
ชง
-
ครูและนักเรียนพูดคุยถึงสิ่งที่ได้ทำในช่วงปิดเรียนไปและพูดคุยสอบถามเกี่ยวกับเมล็ดถั่วที่เตรียมมา
- ครูให้ดูสารคดี “การเดินทางของถั่วงอก” ครูกระตุ้นความคิดด้วยคำถาม
“นักเรียนเห็นอะไรในสารคดีการเดินทางของถั่ว และถั่วเกี่ยวข้องอย่างไรกับชีวิตเรา”
เชื่อม
-ครูและนักเรียนร่วมแลกเปลี่ยน เกี่ยวกับการเดินทางของถั่วว่านักเรียนเห็นอะไรมีความคิดเห็นอย่างไร
ใช้
-ครูและนักเรียนคัดเลือกและแยกเมล็ดถั่วแต่ละชนิดที่นักเรียนนำมา
- วิเคราะห์ เกี่ยวกับชนิดของถั่วนักเรียนนำมา
- นักเรียนเตรียมแปลงปลูกถั่วและปลูกถั่ว
วันอังคาร
ชง
ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่เจอแปลงถั่ว
ครูถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนจะมีวิธีการดูแลถั่วในแปลงอย่างไร”
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาวิธีดูแลแปลงถั่ว
ใช้
- นักเรียนปลูกถั่วและวางแผนดูแล
วันพฤหัสบดี
ชง
ครูถามกระตุ้นความคิด “นักเรียน
อยากเรียนรู้อะไรใน Quarter นี้ เพราะเหตุใดจึงอยากเรียนรู้ เรื่องนั้น
ใช้
นักเรียนเขียน Card and Chart แสดงความคิดเห็น
พร้อมบอกเหตุผลประกอบ
วันศุกร์
ชง
ครูถามกระตุ้นความคิด
“นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้”
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ใช้
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- คัดแยกเมล็ดพันธุ์ถั่ว
- การสนทนาและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการนำถั่วไปปลูกและการดูแลหลังจากปลูกแล้ว
- ปลูกถั่วที่แปลง
- ดูแล
และบันทึกการเจริญเติบโตของแปลงถั่ว
- แสดงความคิดเห็นให้เหตุผลประกอบเรื่องที่อยากเรียนรู้
ชิ้นงาน
- ปลูกถั่ว
-
สมุดบันทึกการเจริญเติบโตของถั่ว
- เขียนเรื่องที่อยากเรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
เข้าใจและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
ทั้งสามารถให้เหตุผลเรื่องที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในการปลูกถั่วให้คุ้มค่าและเหมาะสม
-ทำงานอย่างมีเป้าหมายและมีการวางแผนในการปลูกถั่ว
ทักษะการสื่อสาร
- พูด/สื่อสารเหตุการณ์ที่ตนเองดีใจและเสียใจในวันหยุดที่ผ่านมาได้
- พูดนำเสนอสิ่งที่ได้ดูจากการดูคลิปให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์
สังเคราะห์ข้อมูลจากการดูคลิปเพื่อทำนำมาสรุปร่วมกันได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้
กระตือรือร้นในการทำงาน การร่วมกิจกรรมจนสำเร็จ
- มีความพยายาม
อดทนในการทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
|
กิจกรรม
สัปดาห์แรก พี่ๆ ป.2 ได้ดูคลิปการเจริญเติบโตของเมล็ดถั่วในแต่ละวันจนโตเป็นต้นถั่ว และคลิปเพลงถั่วงอกเต้นระบำ เมื่อพี่ๆ ดูคลิปจบครูได้ถามว่าเห็นอะไรในคลิปบ้าง บางคนตอบว่าเห็นถั่วโตขึ้น บางคนบอกเห็นเมล็ดถั่วเขียว เห็นแมลงที่บินผ่าน เห็นน้ำ และจากการดูคลิปเพลงถั่งงอกเต้นระบำ พี่ๆ ได้ให้ความสนใจที่จะร้องเพลงมาก ครูถามถึงเรื่องในเนื้อเพลง พี่ๆ สามารถจับใจความสำคัญของเนื้อเพลงที่บงบอกถึงการเพาะถั่วงอก จากนั้นครูให้พี่ ๆ แยกประเภทของถั่วที่ได้นำมาจากบ้าน ซึ่งมีหลายชนิด และส่วนมาจะแยกชนิดของเมล็ดถั่วได้ว่าเป็นถั่วอะไร ถั่วที่พี่ๆ นำมาเช่นถั่วพู ถั่วฝักยาว ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง และมีถั่วอีกชนิดหนึ่งที่ครูสังเกตว่าพี่ๆ นำมาแต่ไม่รู้ว่าเป็นถั่วเขียวผ่าซีก ทุกคนจากเรียกว่าถั่วเหลือง ครูจึงให้พี่นำเมล็ดถั่วเขียวที่นำมาแกะเปลือกออก จากนั้นวิเคราะห์ว่า เหมือนหรือต่างจากถั่วที่พี่ๆ บอกว่าเป็นถั่วเหลืองอย่างไร พี่โอ๊ต บอกว่า ครูครับมันเหมือนกันเลย เป็นเป็นถั่วเขียวครับ จากนั้นพี่ ๆ เริ่มสังเกตว่า มันเป็นถั่วเขียว เมื่อแยกประเภทถั่วเสร็จ ครูได้พาพี่ ๆ มาเตรียมแปลงปลูกถั่ว โดยใช้ยางรถรถยนต์เก่า เมื่อเตรียมยางรถยนต์เสร็จ ครูได้ให้พี่ ๆ คิดว่าเราจะปลูกถั่วอย่างไร นำดินมาจากไหน โดยแบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มละ 3 คน วันอังคารทุกกลุ่มรวมกันปลูกถั่ว พี่ๆ สนุกกับการปลูก และวันต่อมาครูได้ให้พี่ๆ ทำสมุดบันทึกการเจริญเติบโตของถั่วของตนเอง ในวันพฤหัสบดีนี้ บางกลุ่มได้เห็นการงอกของเมล็ดถั่วบ้างแล้ว เช่นกลุ่มพี่ลาร์ด กลุ่มพี่อิ๋ง ซึ่งทั่งสองกลุ่มปลูกถั่วฝักยาว วันศุกร์ครูพาพี่ ๆ ไปดูต้นถั่วบันทึกความสูงของต้นถั่ว และครูได้ให้พี่ๆ ช่วยกันตั้งชื่อเรื่อง PBL ของเรา พี่ๆ เสนอหลายชื่อด้วยกัน เช่น ถั่วนักเตะ ถั่วงอกเต้นระบำ สวนถั่วหรรษา สุดท้ายครูให้พี่ๆ ลงคะแนนเลือกชื่อ และสรุปออกมาว่า พี่เลือกสวนถั่วหรรษามากที่สุด เราจึงได้ตั้งชื่อ PBL ว่า “สวนถั่วหรรษา” จากนั้นพี่ๆ ได้ช่วยกันทำบ้านติดหน้าชั้นเรียน และพาทำขนมถั่วแปบ จากเมล็ดถั่วเขียวผ่าซีก ทุกคนอร่อยกับขนม และทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ตอบลบ