เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic: "สวนถั่วหรรษา"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับถั่วชนิดต่าง ๆ สามารถเลือกรับประทานถั่วแต่ละชนิดได้อย่างปลอดภัยและมีคุณค่า รวมทั้งมีทักษะการปลูกและผลิตอาหารจากถั่วชนิดต่างๆ ได้อย่างมีคุณค่าทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

week4



เป้าหมายรายสัปดาห์: นักเรียนเข้าใจและเรียนรู้ถึงกระบวนการเจริญเติบโตของต้นถั่ว รวมทั้งเห็นถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและสามารถเชื่อมโยงถึงตนเองได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
4
25-29 ส.ค. 57
โจทย์  ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของถั่ว
คำถาม
ถั่วมีชีวิตและเจริญเติบโตได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
- Brainstorms ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการแบ่งชนิดของถั่ว
- Jig saw แบ่งกลุ่มทำการทดลองปัจจัยการเจริญเติบโตของพืช
- Show and Share นำเสนอการทดลอง
- Round Table วิเคราะห์สาเหตุเพราะเหตุใดถั่วที่แช่อยู่น้ำจึงไม่งอกแต่ถั่วที่แช่น้ำและโดนอากาศจึงงอก
- ชักเย่อความคิด  ถั่วเมล็ดใหญ่งอกเร็วกว่าเมล็ดเล็กจริงหรือ
สื่อ/อุปกรณ์
บรรยากาศในห้องเรียน
- แปลงถั่ว
วันจันทร์
ชง
-ครูและนักเรียนพูดคุยถึงสิ่งที่ทำในสัปดาห์ที่ผ่านมา
-ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด“นักเรียนเห็นอะไรบ้างจากสิ่งที่ครูนำมาเช่น น้ำ อากาศ ดิน เมล็ดถั่ว และนักเรียนคิดว่าสิ่งเหล่านี้มีสมบัติอย่างไร”
-ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนคิดว่าปัจจัยใดบ้างที่จะทำให้ถั่วของเรางอกและเจริญเติบโตนักเรียนมีวิธีอย่างไร”
เชื่อม
ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดกันเกี่ยวกับสมบัติสารของสิ่งที่นำมา
ใช้
ทดลองปลูกถั่วโดยควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโต โดยปลูกถั่วเปรียบเทียบกัน 2 กระถาง
1.    ควบคุมปัจจัยเรื่องน้ำ กำหนดให้ทั้งสองกระถางใช้ดินที่เดียวกัน กระถางที่หนึ่งรดน้ำสม่ำเสมอทุกวันกระถางที่สองรดน้ำครั้งแรกที่ปลูกครั้งเดียว
2.    ควบคุมปัจจัยเรื่องแสง กำหนดให้ทั้งสองกระถางใช้ดินที่เดียวกันแต่กระถางที่หนึ่งให้โดนแสง กระถางที่สองคลุมไม่ให้โดนแสง รดน้ำสม่ำเสมอทุกวัน
3.    ควบคุมปัจจัยเรื่องดิน กำหนดให้ทั้งสองกระถางใช้ดินที่เดียวกันแต่กระถางที่หนึ่งใส่ปุ๋ยเพิ่มลงไปกระถางที่สองไม่ใส่ปุ๋ยรดน้ำสม่ำเสมอทุกวัน
4.    อากาศมีผลกับการงอกของเมล็ด แช่ถั่วในน้ำแล้วแบ่งใส่ภาชนะ 2 ใบ ใบที่หนึ่งแช่ถั่วจมน้ำ ใบที่ 2 วางบนภาชนะมีน้ำเล็กน้อยแต่ถั่วไม่จมน้ำ
บันทึกผลตั้งแต่เริ่มปลูก
วันอังคาร
ชง
ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนคิดว่าพืชสามารถกินอาหารได้อย่างไรและถ้าพืชกินอาหารแล้วจะมีการคายของเสียหรือไม่อย่างไร”
เชื่อม
ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดกันเกี่ยวการกินอาหารของพืช
ใช้
- ทดลองการทำงานของส่วนต่าง ๆ ของพืช นำต้นถั่วมาใส่ในภาชนะที่ใส่น้ำผสมสีผสมอาหาร
1.      สังเกตสีของลำต้นภายนอก
2.      ผ่าลำต้นแนวขวาง และตามยาว
- วิเคราะห์ หน้าที่และการทำงานของส่วนต่างๆ ของถั่วเชื่อมโยงกับคน
- บันทึกผลการสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการทดลองและผลที่เกิดขึ้น
วันพฤหัสบดี
ชง
ครูและนักเรียนไปดูถั่วที่ปลูกในแปลงสังเกตการเปลี่ยนแปลง ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว
เชื่อม
ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดกันเกี่ยวความเปลี่ยนแปลงในแปลงถั่ว
ใช้
นักเรียนดูแลแปลงถั่วใส่ปุ๋ย รดน้ำและพรวนดิน
วันศุกร์
ชง
- ครูถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้”
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนในสัปดาห์นี้
ใช้
-นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
ดูแลแปลงถั่วที่ปลูกไว้ทุกวัน พร้อมทั้งบันทึกการเปลี่ยนแปลง
ออกแบบการทำลองเกี่ยวกับการทดลองหาปัจจัยเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืช (น้ำ แสง ดิน อากาศ)
-ทดลองปลูกถั่วตามปัจจัยต่างๆ
-ศึกษา ทดลองโครงสร้างและหน้าที่ของส่วนประกอบของพืช
ชิ้นงาน
ภาพวาดการเปลี่ยนแปลงของการทดลองต่าง ๆ
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจความแตกต่างของปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตอยู่ได้ของพืช
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่จะนำมาเพาะเมล็ดถั่วได้อย่างเหมาะสม
เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาและกิจกรรมที่เรียน
ทักษะการสื่อสาร
สามารถพูดอธิบายนำเสนอทดลองให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
ทักษะการจัดการข้อมูล
 คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำดูการเปลี่ยนแปลงของเมล็ดถั่วที่มีปัจจัยต่างๆมาเกี่ยวข้อง
ทักษะ การคิดสร้างสรรค์
 คิดวางทำกิจกรรมได้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะ การแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหากระบวนการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น














1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้นักเรียนได้เรียนรู้ว่าพืชเจริญเติบโตได้อย่างไร โดยวันศุกร์ที่ผ่านมาครูให้นักเรียนลองเพาะถั่ว โดยให้เมล็ดถั่วเขียวแก่นักเรียนคนละ 5 เมล็ด นำไปแช่น้ำ 1 คืน แช่ตู้เย็น 2 คืน และนำมาโรงเรียนในวันจันทร์นี้ ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ถึงการเจริญเติบโตของต้นงอก พี่ก้องนำไปแช่ตู้เย็นเลยโดยที่ไม่แช่น้ำ ปรากฏว่าถั่วไม่งอก พี่โอ๊ตแช่น้ำ 1 คืน แช่ตู้เย็น 1 คืน ปรากฏว่าถั่วงอกยาวกว่าเพื่อนคนอื่น ๆ และของครู แช่น้ำ 3 คืน ปรากฏว่าถั่วงอกออกมานิดหน่อยเหมือนของคนที่แช่น้ำ 1 คืน แช่ตู้เย็น 2 คืน วันอังคารครูให้นักเรียนทดลองปลูกถั่วเป็นกลุ่ม โดยมีตัวแปรที่ใช้ในการทำลองเป็น ปลูกในน้ำ โดนแสงและไม่โดนแสง ปลูกในดินที่ผสมปุ๋ย โดนแสงและไม่โดนแสง และสุดท้ายปลูกในดินที่มีปุ๋ย และดินที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ย จากนั้นนักเรียนได้ทดลองเพาะถั่วงอก โดยใช้ขวดพลาสติกมาตัด ถั่วงอกเร็วมา แค่สองวันถั่วก็ต้นโตและสามารถรับประทานได้ โดยถั่วที่ทดลองเพาะนี้ครูได้พานักเรียนนำมาประกอบอาหารเป็นผัดหมีในวันศุกร์ วันพฤหัสบดี ครูพานักเรียนไปดูแปลงถั่ว ดูความเปลี่ยนแปลง ถอนหญ้า บันทึกความสูง วันศุกร์ครูให้นักเรียนดูผลการทดลองปลูกถั่วในวันอังคาร ซึ่งนักเรียนสามารถวิเคราะห์ได้ว่าแสงมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช และมองเห็นความแตกต่างของถั่วที่โดนแสงและไม่โดนแสง ถั่วที่ใส่ปุ๋ย และถั่วที่อยู่ในน้ำที่ต้นไม่แข็งแรงเท่าบนดิน ครูให้นักเรียนสังเกตลำต้นที่เอียงของต้นถั่วและถามกระตุ้นความคิดว่าน่าจะเกิดจากอะไร นักเรียนบอกยังไม่รู้ และบางคนบอกว่าเพราะต้นไม่แข็งแรง ครูจึงนำถั่วไปตั้งไว้ที่เดิมและให้นักเรียนมาสังเกตในวันจันทร์ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใดเกิดขึ้นบ้าง จากนั้นครูให้นักเรียนทำสรุปความรู้รายสัปดาห์ว่าได้เรียนรู้อะไรมาบ้าง

    ตอบลบ